น้ำมันกัญชากับคนไข้มะเร็ง สามารถรักษาได้จริงหรือ ?

46

น้ำมันกัญชา เป็นสารสกัดที่มาจากช่อดอกกัญชามีส่วนผสมที่เข้มข้น ลักษณะเหนียวหนืด สีเข้ม โดยน้ำมันที่นิยมใช้เป็นตัวทำลายเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วลิสง เป็นต้น

น้ำมันกัญชา ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายมากที่สุดในตลาด ซึ่งก็มีคุณภาพที่แตกต่างต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวัตถุดิบสำคัญคือ ช่อดอกกัญชา โดยมีสารสำคัญได้แก่ THC และ CBD เป็นสารหลัก สาร THC จะโดดเด่นใช้เพื่อผ่อนคลาย ช่วยการนอนหลับ ส่วนทางการแพทย์ และประโยชน์ต่อสุขภาพก็อย่างเช่น  บรรเทาอาการข้างเคียงของการทำคีโมฯ รักษามะเร็ง, บรรเทาอาการภูมิแพ้, เส้นเลือดตีบ, บรรเทาอาการเอชไอวี, อาการเจ็บปวดเรื้อรัง, อาการติดเชื้อหรืออักเสบ, ช่วยระบบย่อยอาหาร ส่วนสาร CBD จะไม่ออกฤทธิ์ทางระบบประสาทที่ทำให้เกิดอาการมึนเมา และเป็นสาระสำคัญในวงการแพทย์ เพราะมีสรรพคุณรักษาได้หลายโรค เช่น บรรเทาอาการเจ็บปวดเรื้อรังจากมะเร็ง, บรรเทาโรคลมบ้าหมูบรรเทาอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง, บรรเทาอาการพาร์กินสัน แก้ปัญหาสิวและโรคผิวหนัง, อาการซึมเศร้า บรรเทาอาการโรคเบาหวาน, ลอาการทางจิตเภท, อาการลงแดงจากสารเสพติด และป้องกัน บรรเทาโรคหัวใจ เป็นต้น

โดยสารสาระสำคัญที่สุดก็คือ แคนนาบินอยด์ (CBD) และยังมีสารย่อยสำคัญอีก 2 ชนิด นั่นก็คือ เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอลกับแคนนาบิไดออล ซึ่งเป็นสารสกัดนี้มีโมเลกุลของน้ำมันที่ความเข้มข้นสูง เพราะมีสารเคมีประกอบกว่า 100 ชนิด การผลิตจะผ่านกระบวนการเจือจางความเข้มข้น เพื่อทำให้มีความปลอดภัย เมื่อสกัดออกมาเป็นน้ำมันสามารถนำไปผสมกับผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น กับครีม ลิปบาล์ม แชมพู หรือยาทาบนผิวหนังใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ หรือการผสมกับทิงเจอร์ หยด บริเวณใต้ลิ้น แล้วทิ้งไว้จะช่วยให้สารประกอบสำคัญได้รับการดูดซึมเข้ากระแสเลือดผ่านเยื่อเมือกในช่องปากได้อย่างรวดเร็ว

สรรพคุณน้ำมันกัญชาในการรักษาอาการเจ็บป่วย

  • รักษาอาการชัก
  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • บรรเทาอาการเจ็บปวด ลดอักเสบ
  • บรรเทาอาการปวดข้อ อาการปวดเรื้อรัง
  • ช่วยคลายเครียด ช่วยลดความวิตกกังวล ทำให้จิตใจที่สงบลงได้
  • ใช้รักษาแผลสด
  • รักษาสิว ผิวหน้าที่มีผื่นแดง และโรคผิวหนังอื่น ๆ
  • รักษาแผลหายยากที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน

น้ำมันกัญชากับคนไข้มะเร็ง รักษาได้หรือไม่ ?

โรคมะเร็งเป็นโรคร้ายคร่าชีวิตคนทั่วโลกเป็นอันดับต้น ๆ ยิ่งหากอาการอยู่ในระยะลุกลาม โอกาสที่จะรักษาให้หายแทบจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นผู้ที่ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายรวมถึงญาติจึงไม่มีทางเลือกนอกจากจะใช้การรักษาแผนปัจจุบันกับแพทย์เพื่อประคองอาการไปเรื่อย ๆ แต่เมื่อได้ทราบข่าวว่ามีผู้ใช้กัญชารักษาโรคมะเร็งได้ก็เริ่มมีความหวังในการรักษาเพิ่มมากขึ้น โดยเป็นการใช้น้ำมันที่สกัดจากกัญชาอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ แต่สิ่งที่ตามมาก็คือตำถามที่ว่า ช่วยรักษาโรคมะเร็งได้จริงหรือ ?

ถือเป็นคำถามที่หลายคนยังคงค้างคาใจ ที่ถึงแม้จะมีรายงานอยู่บ้างว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถหายได้จริง แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลทางการศึกษา หรืองานวิจัยใด ๆ มายืนยันว่าใช้รักษาได้จริง แต่ในอนาคตก็มีแนวโน้มสูงว่าจะใช้รักษาได้ เพราะมีการศึกษาที่ทั้งหมดยังอยู่ในระดับห้องปฏิบัติการ โดยทำกับสัตว์ทดลอง ซึ่งผลภาพรวมออกมาในเชิงบวก คือ ทั้งสาร THC และ CBD สามารถทำลายเซลล์มะเร็งหลายชนิดได้โดยไม่กระทบต่อเซลล์ปกติ อีกทั้งยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดการแพร่กระจาย รวมทั้งมีหลักฐานในการลดอัตราการเกิดใหม่ ของมะเร็งได้

กับคนไข้มะเร็ง ปัจจุบันใช้ในด้านใดได้บ้าง

ถึงแม้จะยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดว่า สารในกัญชาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้โดยตรงหรือไม่ แต่ในการทดลองกับหนูก็มีการพบว่าสาร THC สามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma และสารกลุ่ม cannabinoid ช่วยยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งเต้านม มะเร็งตับอ่อน มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งปอดบางชนิด มะเร็งรังไข่ เป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายไปตามวงจร และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งกลไกอื่น ๆ ที่อาจไปกระตุ้นให้เกิดการ สร้าง สารยับยั้งกำเนิดหลอดเลือด antiangiogenic effect ทำให้ไม่มีอาหารเข้าไปหล่อเลี้ยงเซลล์มะเร็ง

การศึกษาในห้องทดลองแสดงให้เห็นว่าหากมีการนำไปใช้อย่างเหมาะสม ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการผู้ป่วยโรคมะเร็งได้หลายอย่างดังนี้

ใช้ลดผลข้างเคียง จากการทำคีโม รักษามะเร็ง

ในสาร THC จะมีสารอนุพันธ์ย่อยอย่างสาร Nabilone และ Dronabinol ซึ่งมีผลการวิจัยยืนยันว่าสารทั้งสองชนิดสามารถลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดได้อย่างปลอดภัยมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้รับการอนุมัติให้จำหน่ายทั้งในประเทศอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2528 และในแคนาดา พ.ศ. 2538 แต่การใช้สารกัญชาผู้ป่วยต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพราะมีผลข้างเคียงมีผลต่อระบบจิตประสาท เนื่องจากเป็นสารสกัดที่มาจากกัญชา

ช่วยเพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็ง และโรคเอดส์

ในน้ำมันกัญชาจะมีสาร Dronabinol ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของสาร THC ซึ่งในประเทศแคนาดามีการทดลองใช้เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์ พบว่าช่วยเพิ่มความอยากอาหารให้ผู้ป่วยมะเร็งและเอดส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีสภาพร่างกายที่แข็งแรงมากขึ้น

ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ และปวดเรื้อรัง ที่เป็นผลข้างเคียงของการทำคีโม

มีการวิจัยในห้องทดลองพบว่า สาร cannabinoids หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมสามารถรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการปวดเรื้อรัง นอนไม่หลับได้ เพราะสามารถป้องกันการพัฒนาอาการปวดจากระบบประสาทซึ่งเป็นผลข้างเคียงของเคมีบำบัด นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการปวดประสาทที่ส่งผลทำให้ร่างกายทรุดโทรม และสารอย่าง THC มีสรรพคุณสามารถช่วยลดอาการปวดแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถนอนหลับได้เพิ่มขึ้น ตัวยาใช้ส่วนผสมร่วมระหว่าง THC และ CBD ช่วยลดอาการปวดข้อ โดยจะมาในรูปแบบสเปรย์พ่นในปาก โดยจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางปอด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ

ในไอระเหยจะออกฤทธิ์ได้ค่อนข้างรวดเร็ว การปรับขนาดยาให้เหมาะสมทำได้ง่ายขึ้น โดยไม่เกิดอาการข้างเคียงมากนัก อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็ว

โรคอะไรบ้างที่น้ำมันกัญชา ที่ข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนชัดเจน ว่าใช้รักษาได้จริง

มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนหรือวิจัยว่าสารสกัดจากกัญชา ใช้บรรเทารักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยหลายโรคดังนี้ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด, โรคลมชักที่รักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา, ภาวะปวดประสาทที่ใช้วิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล, รักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

การสูบกัญชาช่วยบรรเทาโรคมะเร็งได้หรือไม่?

ในเรื่องนี้ยังไม่มีการศึกษาวิจัยออกมา แต่ก็มีการยอมรับว่าการสูบกัญชาอาจช่วยลดอาการปวด จากโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้ยาเคมีบำบัด แต่ก็ไม่ไม่มีข้อมูลว่าสามารถช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน จากยาเคมีบำบัดได้แต่อย่างใด รวมไปถึงไม่พบว่าเพิ่มความอยากอาหารในผู้ป่วยมะเร็งได้ แต่หากมองถึงการลดความเครียด พบว่าการสูบกัญชาทำให้อารมณ์ถูกกระตุ้นให้คึกคัก สนุกสนาน มากกว่าจะทำให้อารมณ์สงบลง

โรคอะไรบ้าง ที่ต้องรอข้อมูลวิจัยเพิ่มเติม

นอกจากโรคมะเร็งระยะสุดท้ายแล้ว ก็ยังมีอีกหลายโรคที่ยังต้องรอข้อมูลงานวิจัยมายืนยันเพื่อใช้รักษา หรือบรรเทาอาการได้จริง โรคพาร์กินสันโรคอัลไซเมอร์, โรควิตกกังวล, ผู้ป่วยที่ต้องดูแลแบบประคับประคอง

หากใช้น้ำมันกัญชาไม่ถูกต้อง จะเกิดอะไรขึ้น

ถึงแม้น้ำมันกัญชากับคนไข้มะเร็ง หรือผู้ป่วยในโรคอื่น ๆ จะมีประโยชน์มากมายหลายอย่าง แต่เมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสียเช่นกัน เพราะหากได้รับสารในปริมาณมากเกินไป หรือหากมีอาการแพ้ ก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้ดังนี้

  • มีอาการท้องร่วง
  • อ่อนเพลีย
  • หมดสติ
  • เบื่ออาหาร ลดความอยากอาหาร หรือน้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
  • หาใช้ทาผิวหนังอาจส่งผลให้เกิดอาการปวดแสบ ปวดร้อน แพ้ ผิวหนังพุพอง เป็นผื่นแดงได้
  • หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติเกี่ยวข้องกับหัวใจ อาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ วิงเวียนศีรษะ จนถึงขั้นหมดสติได้

นอกจากนี้หากผู้ป่วยให้ในปริมาณเกินขนาดต่อเนื่องเป็นเวลานาน สิ่งที่ตามมาก็คือการเสพติด จากข้อมูลของกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐอเมริกา พบว่าที่ที่ในมันหรือสารสกัดจากกัญชาแบบผิดวิธีนำไปสู่อาการติดยาเสพติด ซึ่งผลข้างเคียงที่ได้รับก็คือ สารเคมีในกัญชาไปสร้างความเสียหายให้กับระบบประสาท และสมอง ระยะยาวทำให้อาการทางจิต เช่น เห็นภาพหลอน รู้สึกหวาดระแวงโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น

น้ำมันกัญชากับคนไข้มะเร็ง ถึงแม้ว่ายังไม่มีการรับรองว่ากัญชาสามารถรักษาโรคมะเร็งได้จริง แต่ก็มีผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายที่อาการดีขึ้นจนหายขาดได้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นความหวังใหม่ของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่จะช่วยทำให้อาการดีขึ้นจนหายขาดได้ในอนาคต แต่ในปัจจุบันไม่ใช่ทางเลือกแรกในการรักษา จึงไม่ควรหยุดรักษาที่รับอยู่ แต่สามารถใช้สารกัญชาสามารถใช้เป็นยาเสริมเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการปวด ช่วยเจริญอาหาร หรืออาการอื่น ๆ ที่มาจากสาเหตุจากการทำคีโม โรคมะเร็ง แต่ควรเริ่มในปริมาณน้อย ๆ ไปก่อนแล้วควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง หากรู้สึกผิดปกติให้หยุดใช้โดยทันที

แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยากทดลองให้น้ำมันกัญชาในการรักษา ไม่ควรนำมาใช้เองโดยพลการเพราะอาจส่งผลข้างเคียงที่ร้ายแรงได้ ยิ่งหากได้รับสารในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียได้ ดังนั้นหากต้องการใช้สกัดจากกัญชาควรศึกษารายละเอียดให้รอบคอบ ดูปริมาณสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนผสม ต้องได้รับการรับรอง ที่สำคัญอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าใช้ยาประเภทใดอยู่บ้างเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้

บทความก่อนหน้าตำรับยาแผนไทยที่มี กัญชา มีกี่ตำรับ รักษาโรคอะไรได้บ้าง
บทความถัดไปประโยชน์ของ รากกัญชา / กัญชง ที่หลายคนไม่เคยรู้