ตำรับยาแผนไทยที่มี กัญชา มีกี่ตำรับ รักษาโรคอะไรได้บ้าง

4

ตำรับยาแผนไทยที่มี กัญชา เป็นส่วนผสมถูกนำมาใช้รักษาโรคต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยโบราณ ที่จะนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ที่ให้สรรพคุณในการรักษาโรคที่แตกต่างกันออกไป การใช้กัญชารักษาโรคของไทยยังมีความสอดคล้องกับวงการแพทย์แผนตะวันตก ที่มักนำไปใช้ในรักษาหลายอาการ เช่น แก้คลื่นไส้อาเจียน เพิ่มความอยากอาหาร แก้นอนไม่หลับ ช่วยลดความวิตกกังวล ลดอาการปวดเรื้อรัง และกล้ามเนื้อเกร็งกระตุก เป็นต้น  โดยปัจจุบันการใช้กัญชาเป็นยาแผนไทยจะใช้ส่วนของ ต้น เปลือก เส้นใย กิ่งก้าน ราก และใบที่ไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ มาปรุง นอกจากนี้ต้องมีสาร CB เป็นส่วนประกอบและต้องมีสาร TH ไม่เกินร้อยละ 0.2 ของน้ำหนักยา กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดต้องมีสาร THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 จากน้ำหนักถึงจะผ่านเกณฑ์การผลิต ซึ่งจากบันทึกตำรับยาแผนไทยพบว่ายาที่มีส่วนผสมของกัญชาจากกระทรวงสาธารณสุขรวมกันทั้งสิ้น 16 ตำรับ แต่ละตำรับก็มีจุดเด่นในการรักษาที่ รวมไปถึงข้อห้าม ข้อควรระวังในการใช้ แตกต่างกันออกไป ดังนี้

ตำรับยาแผนไทยที่มี กัญชา รักษาโรคอะไรได้บ้าง ข้อควรระวัง

  1. ยาศุขไสยาศน์

สรรพคุณ – ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร

ข้อควรระวัง – หญิงตั้งครรภ์ หญิงอยู่ในช่วงให้นมบุตร ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก โรคกรดไหลย้อน และผู้ทีที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ห้ามใช้ ไม่ใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ ยาต้านการชัก เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือยามีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ รวมไปถึงยากลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ยาออกฤทธิ์เมื่อใช้ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล

  1. ยาทำลายพระสุเมรุ

สรรพคุณ – แก้โรคลมต่าง ๆ เช่น ลมจุกเสียด ลมเมื่อยขบในร่างกาย แก้ปวดกล้ามเนื้อ คลายกล้ามเนื้อที่แข็งเกร็งจากโรคลมอัมพฤกษ์ อัมพาต รวมไปถึงแก้โรคผิวหนัง แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคเสมหะโลหิตเรื้อรัง เป็นต้น

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก โรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต ผู้ป่วยสูงอายุควรใช้อย่างระมัดระวัง

3.ยาแก้ลมแก้เส้น

สรรพคุณ – แก้เมื่อย แก้เหน็บชา บรรเทาอาการมือเท้าชา อ่อนแรง แก้ลมในเส้น

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยสูงอายุควรใช้อย่างระมัดระวัง

  1. ยาอัคคินีวคณะ

สรรพคุณ – บำรุงกำลัง แก้คลื่นเหียนอาเจียนเกิดจากการย่อยอาหารผิดปกติ

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน

  1. ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย

สรรพคุณ – แก้อาการเจ็บแปลบที่ปลายมือปลายเท้า ต้นคอตึงแข็งเกร็ง หันคอไม่ได้

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด

  1. ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ

สรรคุณ – ใช้ทาแก้อาการเจ็บปวดท้องแข็งลามขึ้นไปถึงยอดอก กินอาหารไม่ได้ ที่มีสาเหตุมาจากกษัยเหล็กเกิดจากลมอัดแน่นแข็งเป็นดานอยู่ในท้องน้อย

ข้อควรระวัง – ไม่ควรทาบริเวณผิวที่บอบบางหรือผิวหนังที่แตก บริเวณที่เป็นแผล เนื่องจากอาจทำให้เกิดการแสบร้อน และระคายเคืองได้

  1. ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง

สรรพคุณ – แก้โรคลมต่าง ๆ ที่เป็นต้นเหตุให้มีอาการปวดหัว หน้ามืด รู้สึกมึนงง หูอื้อ ใจสั่น อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน

  1. ยาไฟอาวุธ

สรรพคุณ – แก้ลมจุกเสียด ปวดมวนท้อง แก้ไอผอมเหลือง แก้อุจจาระเปนมูก

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน

  1. ยาแก้นอนไม่หลับ/ยาแก้ไข้ผอมเหลือง

สรรพคุณ – บำรุงกำลัง แก้ไข้ผอมเหลือง แก้นอนไม่หลับ อาการตัวสั่น เสียงสั่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ อยู่ในช่วงให้นมบุตร ผู้ทีที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี  ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก โรคกรดไหลย้อน ไม่ใช้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยานอนหลับ ยาต้านการชัก เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมไปถึงยากลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ยาออกฤทธิ์เมื่อใช้ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล

  1. ยาแก้สัณฑฆาต กร่อนแห้ง

สรรพคุณ – รักษาอาการท้องผูก อุจจาระแข็งจนรู้สึกเจ็บ แก้อาการมือชาเท้าชา ปวดศีรษะ หน้ามืดวิงเวียน จุกเสียดท้อง และอาการแน่นหน้าอก

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยสูงอายุควรใช้อย่างระมัดระวัง

  1. ยาอัมฤตย์โอสถ

สรรพคุณ – แก้กษัยลม แก้ผอมแห้งแรงน้อย มึนตึง มือเท้าอ่อนแรง

ข้อควรระวัง –  ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยสูงอายุควรใช้อย่างระมัดระวัง

  1. ยาอไภยสาลี

สรรพคุณ – บำรุงกำลัง แก้อาการจุกเสียดแน่น

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด

  1. ยาแก้โรคจิต

สรรพคุณ – แก้โรคลมที่ทำให้กังวล ช่วยคลายเครียด แก้นอนไม่หลับ

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และผู้ที่ใช้ยาลดความดันโลหิต

  1. ยาไพสาลี

สรรพคุณ – แก้โรคลม แก้หืดไอ มีเสมหะ จุกเสียด ตามืด ตาฟาง หูหนวก หูตึง

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยสูงอายุควรใช้อย่างระมัดระวัง

  1. ยาทาริดสีดวงทวารหนัก และโรคผิวหนัง

สรรพคุณ – ทาแก้โรคริดสีดวงทวารหนัก แก้โรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น เรื้อนกวาง เรื้อนมูลนก

ข้อควรระวัง – ไม่ควรทาบริเวณผิวที่บอบบางหรือผิวหนังที่แตก บริเวณที่เป็นแผล เนื่องจากอาจทำให้เกิดการแสบร้อน ระคายเคือง และผู้ที่แพ้ส่วนประกอบของยา

  1. ยาทัพยาธิคุณ

สรรพคุณ – แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องผูก แก้อุจจาระเป็นก้อนแข็ง บรรเทาเมื่อยขบตามร่างกาย เบื่ออาหาร ไม่รู้รสอาหาร นอนไม่หลับ

ข้อควรระวัง – ห้ามใช้ในผู้ที่มีไข้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีไม่ควรใช้ร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลเปื่อยเพปติก และโรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยสูงอายุควรใช้อย่างระมัดระวัง

ทั้งหมดนี้คือ ตำรับยาแผนไทยที่มี กัญชา ที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งยาแต่ละชนิดก็ให้สรรพคุณที่รักษาแตกต่างกันออกไป รวมไปถึงข้อควรระวังในการใช้ ดังนั้นหากใครต้องการใช้ยาเพื่อรักษาบรรเทาโรคต่าง ๆ ก็ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดว่าถูกต้องต่ออาการของตัวเองหรือไม่ อ่านส่วนผสมบนฉลากว่ามีปริมาณสารกัญชาที่เหมาะสม รวมไปถึงคำเตือน ข้อควรระวัง แล้วจึงใช้อย่างรอบคอบ หากไม่แน่ใจทางที่ดีที่สุดควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก็จะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าไม่ส่งผลข้างเคียง และสร้างอันตรายต่อสุขภาพ

Previous articleกัญชา เกรด Exotic คืออะไร วิธีสังเกต กัญชาเกรดต่าง ๆ
Next articleน้ำมันกัญชากับคนไข้มะเร็ง สามารถรักษาได้จริงหรือ ?