วิธีการปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor) ลงทุนน้อยให้ผลผลิตสูง

4

วิธีการปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor)  หรือที่เรียกก้นว่าปลูกในระบบเปิด เป็นการเพาะปลูกที่ลงทุนน้อยให้ผลผลิตเยอะกว่าการปลูกกัญชาในร่ม โดยให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมเป็นหลักไม่ว่าจะเป็น สภาพอากาศ แสงแดด ความชื้น ฝน และแมลงต่าง ๆ ที่ล้วนส่งผลต่อการเจริญเติบโต ดังนั้นการปลูกกัญชากลางแจ้ง ผู้ปลุกจึงต้องคำนึงถึงหลายปัจจัยต้องมีความรู้ในเบื้องต้นเป็นข้อมูลข้อมูลก่อนการปลูก เพื่อที่จะได้ผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่สูงที่สุด แต่ลงทุนน้อย ซึ่งการปลุกกัญชากลางแจ้งระบบเปิดก็มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงหลัก ๆ ก็มีดังต่อไปนี้

สายพันธุ์สำหรับ วิธีการปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor)

หากใครเป็นมือใหม่หัดปลูกที่ยังไม่ค่อยมีความชำนาญ การปลูกกัญชากลางแจ้งให้เลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ  ควรเลือกปลูกในช่วงที่มีอุณหภูมิที่เหมาะ เลือกสายพันธุ์ที่แข็งแรงทนต่อแมลงหรือศัตรูพืชได้ดี

การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ควรเป็นสายพันธุ์ดี มีความสดใหม่ สภาพดูดี ให้ดูความสูงของสายพันธุ์จากสถานที่เพาะปลูกจริง ว่าเหมาะสมกับพื้นที่ของเราหรือไม่

หากจะให้แนะนำสายพันธุ์กัญชาที่เหมาะสมต่อการปลุกกลางแจ้ง ควรเป็นสายพันธุ์กัญชาประเภท Photoและเป็นชนิด Sativa หรือ Hybrid เพราะจะมีต้นที่สูงใหญ่ แข็งแรง ทนต่อสภาพอากาศร้อนของประเทศไทยได้ดี จึงให้ผลผลิตที่สูงมากขึ้น

ความสำคัญของน้ำ

ในต้นกัญชาน้ำคือส่วนประกอบที่มากที่สุด อีกทั้งน้ำยังเป็นส่วนช่วยจะละลายแร่ธาตุต่าง  ๆ แล้วสังเคราะห์เป็นอาหารลำเลียงส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของต้นกัญชา เพื่อสร้างความเติบโตแข็งแรงให้กับ ราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก และเกิดเป็นผลผลิตตามมา

ดังนั้นก่อนเพาะปลูกต้องแน่ใจว่าพื้นที่นั้น ๆ แหล่งน้ำที่ดีมากเพียงพอ หรืออยู่ไม่ไกลแปลงปลูกมาก ระบบน้ำเข้าถึงและสะดวกในการเคลื่อนย้ายน้ำมารดน้ำต้นกัญชา น้ำควรปราศจากสารพิษโลหะหนัก และสารเคมี เช่น ยาฆ่าหญ้า หรือ ยาฆ่าแมลง หมั่นตรวจเช็กค่า pH ของน้ำที่ใช้รดพืช ให้อยู่ที่ประมาณ 5.5 – 6.5 เป็นประจำ

โดยเฉพาะในช่วง 6 สัปดาห์แรก ที่พืชกัญชาต้องการความชื้นมากที่สุด เป็นช่วงที่เมล็ดกำลังงอก หลังจากผ่านช่วงนี้ไปแล้วเมื่อต้นอ่อนงอกออกจากเมล็ด กัญชาสามารถทนต่อการสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น เพราะรากเริ่มยาวสามารถหยั่งลึกลงในดินได้ถึง 2-3 เมตร

แต่อย่างไรก็ตามเมื่อต้นกัญชาเริ่มโตขึ้น แล้วทนต่อสภาพอากาศแห้งแล้งได้ดีแต่หากมากไปก็ส่งผลให้การเจริญเติบโตลด ลงและแคระแกร็นได้ ดังนั้นควรรักษาความชื้นที่สะสมอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกเอาไว้ ซึ่งโดยปกติแล้วพืชกัญชาต้องการปริมาณน้ำเฉลี่ย 500-600 มิลลิเมตรต่อหนึ่งวงจรชีวิต แต่หากอยู่ในช่วงที่ลำต้นกัญชากำลังเจริญเติบโตการต้องการน้ำจะอยู่ที่ประมาณ 250-350 มิลลิเมตร แต่อย่างไรก็ตามความต้องการน้ำจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อย่าง ดิน สภาพอากาศ และการจัดการภายในแปลงด้วยเช่นกัน

แสงสำหรับ วิธีการปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor)

การปลูกกัญชากลางแจ้งต้องมีแสงสว่างมากอย่างเพียงพอ ซึ่งการปลุกแบบนี้จำเป็นต้องใช้แสงแดดเป็นหลักเป็นแหล่งพลังงานของต้นกัญชาที่จะนำไปใช้ปรุงอาหารเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของต้น ทำให้ทุกส่วนของต้นกัญชามีการปริมาณขยายตัวเพิ่มมากขึ้น พื้นที่เพาะปลูกจึงควรเป็นที่เปิดโล่งไม่มีร่มเงามาบังแสง เพื่อให้ต้นกัญชาสามารถรับแสงได้อย่างเพียงพอ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาจากระยะการเจริญเติบโตทางลำต้นไปสู่ระยะออกดอก

ดังนั้นการวางแผนปลุกกัญชาจึงควรเลือกฤดูที่เหมาะสมตามช่วงเวลาสั้น-ยาวของวัน จะทำให้การเจริญเติบโตทางลำต้นที่ยาวนานเพียงพอ ส่งผลให้การปลูกสามารถผลิตช่อดอกหรือผลผลิตที่สูงเพิ่มขึ้นอย่างเช่น กัญชาประเภทไวแสง (Photo) ที่มีวงจรชีวิตตามชั่วโมงของแสงในแต่ละวัน หากได้รับแสงเกิน 12 ชม.ขึ้นไป จะไม่สามารถออกดอกสืบพันธุ์ได้ ในทางกลับกันหากได้รับแสงต่ำกว่า 12 ชม. ก็จะออกดอกสืบพันธุ์สูงขึ้น ดังนั้นหากปลูกกัญชาประเภทนี้ ควรเลือกช่วงที่มีกลางวันที่ยาวนานมีแสง แสงมากกว่า 12 ชม. ขึ้นไป โดยฤดูที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกก็คือ ช่วงกลางเดือนมีนาคม ซึ่งประเทศไทยจะมีปริมาณชั่วโมงของแสงที่ได้รับในช่วงเวลากลางวันนานมากกว่าปกติ ส่งผลให้ต้นกัญชามีเวลาทำใบมากขึ้น ต้นใหญ่ขึ้น มีผลผลิตที่ดีขึ้นไปด้วย

สำหรับในช่วงออกดอก พืชกัญชาจะต้องการแสงแดดที่เข้มข้นเป็นพิเศษเพื่อเร่งการผลิตดอก และมีคุณภาพที่สูง ในช่วงนี้ควรให้ดอกสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ดอกจะสมบูรณ์อวบอ้วนมากขึ้นกว่าดอกที่อยู่ใต้ใบ และไม่โดนแสง

ดินสำหรับปลูกกัญชา

ดินมีหน้าที่หลายอย่างทั้งช่วยยึดเกาะทำให้ต้นพืชขึ้นได้อย่างมั่นคง เป็นแหล่งอาหาร ช่วยเก็บกักแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ และช่วยรักษาความชื้นให้อยู่ได้นานมากขึ้น

ดินที่ควรเลือกใช้ปลูกพืชกัญชาควรเป็นมีลักษณะร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีสารอาหาร สารอินทรียวัตถุสูง สภาพดินที่เหมาะที่สุดค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5.5 – 6.5 หากให้แนะนำดินในการเพาะปลูกกัญชาก็คือ ดินร่วนปนทราย จะช่วยทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีมากที่สุด

ในส่วนดินที่ควรหลีกเลี่ยงก็คือ ดินเหนียว ยิ่งเหนียวมากเท่าไหร่ยิ่งเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ เก็บน้ำไม่อยู่ทำให้สภาพของดินแห้ง อีกทั้งอากาศในดินก็ไม่มากพออีกด้วย

พื้นที่เพาะปลูกพืชกัญชาต้องดูให้ดีภายในแปลงไม่ควรชั้นดาน เพราะหากต้นกัญชาเจริญเติบโตจะทำให้รากไปถึงชั้นดาน รากจะมีลักษณะเป็นรูปตัว L ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการดูดน้ำธาตุอาหารต่าง ๆ ด้อยลงไป ชั้นดานจะส่งผลให้การระบายน้ำทำได้ไม่ดี ทำให้เกิดน้ำขังใต้ผิวดินส่งผลทำให้รากกัญชาเน่า โดยเฉพาะในช่วงระยะต้นกล้า

วิธีการปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor)  ความลาดชันก็สำคัญ

แปลงสำหรับปลูกพืชกัญชา ความลาดชันเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญไม่น้อย หากพื้นที่ที่มีความลาดชันมากเกินกว่า 35% ถือเป็นแปลงที่ไม่ควรปลูกพืชกัญชา นั่นก็เป็นเพราะว่าหากเข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวจะมีปัญหาได้ ดังนั้นหากต้องการปลูกความลาดชันที่เหมาะสมที่สุดก็คือ ที่ 5% หากมีความลาดชันเกินกว่านี้ในช่วงฤดูฝนจะทำให้เกิดการชะล้างหน้าดินได้

ความสำคัญของอากาศ

ไม่ว่าจะเป็นพืชชนิดใดต้องใช้คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และพลังงานจากแสงอาทิตย์ ในการสังเคราะห์สารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตไม่ว่าจะเป็น การสร้างคาร์โบไฮเดรต โดยคาร์บอนไดออกไซด์นั้นถือว่าปุ๋ยอากาศธาตุก็ว่าได้ เป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญกับการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้นหากในบริเวณนั้นมีคาร์บอนไดออกไซด์เข้มข้นสูง พืชในบริเวณนั้นย่อมจะโตไวมากกว่าบริเวณอื่นที่มีค่า CO2 ความเข้มข้นต่ำ ดังนั้นหากปลูกพืชกัญชาก็ไม่ควรลืมเพิ่มสารตัวนี้เข้าไปด้วยก็จะทำให้การเจริญเติบโตมีประสิทธิภาพสูงเพิ่มขึ้น

วิธีการปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor)

การปลูกกัญชากลางแจ้ง สามารถปลูกได้อยู่ 2 แบบ โดยจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้

  1. การปลูกแบบหว่าน

การปลูกในลักษณะนี้จะเน้นเพื่อการผลิตเส้นใย ส่วนใหญ่ (ในประเทศไทย) มักจะปลุกในช่วง มิถุนายน –  กันยายน แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยเฉพาะปริมาณน้ำฝน จำนวนเมล็ดที่ใช้อยู่ที่ 10 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่

  1. การปลูกแบบหยอดหลุมด้วยเมล็ด และต้นกล้า

เป็นการปลูกเพื่อผลิตเมล็ด และช่อดอก ส่วนใหญ่จะปลูกเพื่อเน้นเมล็ดในช่วงเดือนกรกฎาคม – เดือนมกราคม จำนวนเมล็ดที่ใช้อยู่ที่  2 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่

แต่การปลูกเพื่อเน้นช่อดอกยังไม่มีวิธีที่แน่ชัด แต่หากอ้างอิงจากต่างประเทศ จะต้องมีการเพาะต้นกล้าให้มีอายุ 2-3 สัปดาห์ หรือเกิดใบจริง 2 คู่ แล้วจึงนำไปลงแปลงปลูก

การปลูกเพื่อผลิตเมล็ดควรใช้เมล็ดที่มีทั้งต้นตัวผู้ และตัวเมีย แต่หากปลูกเพื่อต้องการช่อดอกควรใช้เมล็ดเฉพาะต้นตัวเมีย หรือใช้ต้นกล้าจากการตัดชำ ที่ผู้ปลูกจะสามารถกำหนดเพศของต้นกล้าได้ตามต้องการ

ในส่วนของระยะการปลูก ความห่างระหว่างแถว 100 เซนติเมตร ความห่างระหว่างต้น 30-60 เซนติเมตร จะให้ผลผลิตประมาณ 2,666 – 5,333 ต้น ต่อพื้นที่ 1 ไร่

ในกรณีปลุกด้วยการหยอดหลุม จะใช้หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกไม่เกิน 1-2 เซนติเมตร หากปลูกด้วยต้นกล้าควรใช้ต้นอายุไม่เกิน 4 สัปดาห์ ก่อนย้ายปลูกต้องมีการกระตุ้นต้นกล้าให้แข็งแรงก่อนเสมอ เช่นการงดน้ำก่อนย้ายปลูก 1 วัน

วิธีการปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor) การระวัง แมลง และศัตรูพืช

  • ควรเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีสุขภาพดี แข็งแรง เพราะหากโตขึ้นแล้วต้นกัญชาอ่อนแอ จะผลิตฮอร์โมนที่ดึงดูดแมลงมากัดกินได้
  • หมั่นตรวจตราต้นกัญชาเป็นประจำ ไม่ให้มี แมลง หนอน หอยทาก และสัตว์อื่น มาตอมกิน รบกวน รวมไปถึงตรวจดูเชื้อราหรือเชื้อโรคอื่น ๆ อยู่เสมอ โดยหามาตรการป้องกันเอาไว้ การป้องกันควรใช้วิธีแบบธรรมชาติ หลีกเลี่ยงสารเคมี เพราะอาจทำให้มีสารตกค้างในกัญชาได้ หากเลี่ยงไม่ได้ก็ควรใช้น้อยที่สุด และไม่ใช้บ่อยจนเกินไป เพราะจะมีผลเสียมากกว่าผลดี

จะเห็นได้ว่า วิธีการปลูกกัญชากลางแจ้ง (Outdoor) ถึงแม้จะไม่ยุ่งยาก และวุ่นวายมาก แถมทำผลผลิตได้มากกว่าการปลูกแบบปิด แต่การควบคุมปัญหาทำได้ยากกว่า ไม่ว่าจะเป็น แมลงศัตรูพืช สภาพอากาศ พันธุกรรมของพืช โดยปัจจัยที่จะทำให้กัญชาโตเร็วให้ผลผลิตสูง นอกจากจะมี แสงแดด น้ำ ดิน และ คาร์บอนไดออกไซด์ และการป้องกันแมลงที่ดี ดังนั้นก่อนเริ่มต้นควรศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียด วางแผนให้ดี หากเข้าใจสิ่งต่างเหล่านี้ได้ก็สามารถทำให้การปลูกกัญชากลางแจ้งเติบโตอย่างที่ควรจะเป็น และให้ผลผลิตที่คุ้มค่าต่อการลงทุนให้มากที่สุด

Previous articleประโยชน์ของ รากกัญชา / กัญชง ที่หลายคนไม่เคยรู้
Next articleวิธีปลูกกัญชาในร่ม (Indoor) ขั้นตอนสำคัญ สำหรับผู้เริ่มต้น