สรรพคุณของ กัญชง ประโยชน์มากมาย ที่รู้แล้วต้องทึ่ง

5

หากพูดถึง สรรพคุณของ กัญชง (Hemp) หลาย ๆ คนคงคิดว่าคล้าย ๆ กับกัญชา เพราะเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายกันจนแยกแทบไม่ออก เนื่องจากพืชสองชนิดนี้ มีถิ่นกำเนิดเดียวกัน อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือ Cannabaceae แถมยังสกุลเดียวกันคือ Cannabis แต่ที่แตกต่างกันก็คือ กัญชง จะมีปริมาณสาร THC ซึ่งมีฤทธิ์ต่อจิตประสาท ซึ่งในกัญชงมีปริมาณน้อยกว่า แต่จะมีสาร  CBD ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการทางร่างกายได้ดีกว่า อีกทั้งจุดประสงค์ในการใช้ประโยชน์ของพืชทั้งสองชนิดนี้ก็ค่อนข้างจะแตกต่างกัน นับตั้งแต่มนุษย์รู้จักการใช้พืชตระกูลนี้ มีการบันทึกประวัติศาสตร์ถึงการใช้ประโยชน์พบว่ามีการใช้กัญชงมากกว่ากัญชา โดยเฉพาะในยุคล่าอาณานิคม ยุคนักเดินเรือ มักจะใช้เส้นใยกัญชงมาทำเป็นเชือก และผ้าใบเรือ เพราะมีเหนียว แข็งแรงความทนทานเป็นมาก หรือแม้แต่ประเทศจีน ยุคราชวงศ์โจว ก็นำเส้นใยกัญชงมาผลิตเป็นเครื่องแต่งกาย เครื่องนุ่งห่ม และส่วนของเมล็ดยังเป็นธัญพืชที่นำมาทานกันทั่วโลกนานนับหลายพันปีเช่นกัน

ส่วนประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่มีการปลดล็อกพืชกัญชง กัญชา ก็เริ่มนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยเฉพาะในทางการแพทย์ ถึงแม้ว่ากัญชามักจะถูกนำไปใช้ทางการแพทย์มากกว่า แต่กัญชงก็ถือว่ายังเป็นที่ต้องการ เพราะมีความโดดเด่นตรงที่มีสาร  CBD สูง ยังมีสารสำคัญอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกหลายชนิด รวมไปถึงสามารถใช้ได้ทั้งทุกส่วนของต้นตั้งแต่รากไปถึงใบ จึงทำให้กลายเป็นที่นิยมในการเพาะปลูก โดยสรรพคุณ และประโยชน์ของกัญชงก็มีดังต่อไปนี้

ประโยชน์ สรรพคุณ กัญชง แบ่งได้ดังนี้

สรรพคุณของ กัญชง ทางด้านรักษาโรค

ตั้งแต่ในสมัยโบราณ ส่วนใหญ่มักจะใช้ส่วนของใบ และเมล็ดกัญชง มาให้รักษาบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น นำใบมาทำเป็นยาบำรุงโลหิต มาใช้เพื่อช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย มีความสดชื่น ช่วยให้นอนหลับสบาย หลับสนิท  ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ รักษาบรรเทาอาการปวดศีรษะหรือไมเกรน ใช้รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด และช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด คลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเกาต์ และช่วยแก้กระหาย เป็นต้น ในส่วนของเมล็ดสดจะนำมาเป็นยาสลายนิ่ว โดยนำมาเคี้ยวสด ๆ ส่วนในปัจจุบันได้นำกัญชงมาผลิตยาหลายรูปแบบ สรรพคุณที่ได้มีดังนี้

สรรพคุณทางยา

  • ลดบรรเทาอาการปวด อาการอักเสบ ส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย
  • ใช้คลายเครียด ลดความกังวล นอนหลับได้ดีขึ้น
  • ใช้เพื่อควบคุมอาการชัก โดยไม่มีความเป็นพิษส่งผลต่อระบบประสาท
  • ใช้ในการลดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงหัวใจ
  • ใช้รักษาโรคหลอดเลือด และหัวใจ
  • แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่รับยาเคมีบำบัด ในการณีใช้ยารักษามาตรฐานแล้วไม่ได้ผล
  • ช่วยให้เจริญอาหาร ลดอาการเบื่ออาหาร ผู้ที่น้ำหนักลดในผู้ผู้ป่วยโรค HIV (เอดส์) และโรคลมชักรุนแรงสองชนิด Lennox-Gastaut syndrome กับ Dravet syndrome
  • บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง พร้อมกับรักษาอาการปวดจากโรคปลอกประสาทอักเสบ
  • ใช้บรรเทาปวด และมีอาการคลื่นไส้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยจะใช้เมื่อการรักษามาตรฐานยังได้ผลไม่ดีเท่านั้น
  • บรรเทาอาการลมบ้าหมู
  • ลดอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ ALS
  • ช่วยบรรเทาอาการพาร์กินสัน
  • ลดปัญหาผิวแห้ง และสิว
  • ลดอาการโรคซึมเศร้า
  • ช่วยบรรเทาโรคเบาหวาน
  • บรรเทาอาการทางจิตเภท
  • ลดอาการลงแดงจากสารเสพติดอื่น ๆ
  • ช่วยบรรเทา และป้องกันโรคหัวใจ

ประโยชน์ของกัญชงทางด้านอาหาร

จากการศึกษาพบว่า น้ำมันในเมล็ดกัญชง มีสารอาหารมากมาย เช่น โอเมก้า 3, โอเมก้า 6, โอเมก้า 9, กรดไลโนเลอิก, กรดอัลฟ่า, และแกมมาไลโนเลนิก สารในกลุ่มวิตามิน ต่าง ๆ เมื่อนำไปเป็นส่วนประกอบของอาหารจึงมีประโยชน์ร่างกายมากมาย อาทิ การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายได้ โดยการใช้ประโยชน์จากน้ำมันเมล็ดกัญชงในอาหารมีลักษณะดังนี้

  • ใช้ทำผลิตภัณฑ์เสริมทั้งแบบชนิดเม็ด แบบแคปซูล และแบบน้ำ
  • ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องดื่มต่าง ๆ ทั้งเครื่องอัดแก๊ส เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรส และเครื่องดื่มธัญชาติ
  • เป็นส่วนผสมในอาหารประเภทต่าง ๆ เช่น ขนม อาหารเพื่อสุขภาพ

เมล็ดนอกจากจะให้น้ำมันแล้ว ก็ยังมีโปรตีนในปริมาณที่สูงมากอีกด้วย ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์อาหารต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น เนย ชีส เต้าหู้ โปรตีนเกษตร นม ไอศกรีม น้ำมันสลัด อาหารว่าง อาหารเสริม ฯลฯ หรือจะทำเป็นแป้งทดแทนถั่วเหลืองก็ยังได้แถมให้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี ซึ่งในอนาคตอาจใช้เป็นทางเลือกในการบริโภคแทนถั่วเหลืองก็เป็นไปได้

สรรพคุณของกัญชง ในด้านเครื่องสำอาง

สำหรับกฎหมายในประเทศไทยการใช้สาร CBD ที่พบได้ในพืชกัญชง และกัญชาในเครื่องสำอางพร้อมใช้ทุกประเภทต้องมีสารตัวนี้ไม่เกิน 1.0% แต่มีข้อแม้ว่าห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับช่องปากหรือใช้บริเวณจุดซ่อนเร้น อีกทั้งต้องมีสาร THC ผสมไม่เกิน 0.2% หากเป็นเครื่องสำอางพร้อมใช้ประเภทน้ำมัน หรือ soft  gelatin capsules ห้ามมีสาร THC ผสมเกิน 0.001% ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่มี CBD เป็นส่วนผสมในท้องตลาดก็มีมากมายให้เลือกใช้ไม่ว่าจะเป็น ครีม โลชั่น สบู่ แชมพู ลิปบาล์ม รวมไปยาทาสมุนไพร เช่น ยาหม่อง เป็นต้น ซึ่งสาร CBD ในเครื่องสำอางก็มีประโยชน์ต่อผิวมากมายจนเป็นสินค้าขายดีในทั่วโลก โดยมีคุณสมบัติเด่น เช่น

  • ใช้ต่อต้านอาการอักเสบของผิวหนัง
  • ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวดูสดใส เต่งตึงขึ้น
  • ช่วยปกป้องผิวจากมลภาวะและแสงแดด พร้อมกับฟื้นบำรุงผิว
  • ช่วยเพิ่มคอลลาเจนฟื้นฟูผิวให้เรียบเนียน สดใสมากขึ้น
  • กระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวเก่า และสร้างผิวใหม่
  • ช่วยลดรอยแดง รอยดำให้ดูจางลง
  • ช่วยบำรุง และเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว
  • ใช้รักษาโรคผิวแห้งคัน และโรคสะเก็ดเงิน

สรรพคุณของ กัญชง และประโยชน์ ในด้านอื่น ๆ

พืชกัญชงนอกจากจะมีสรรพคุณด้านเสริมสุขภาพ ใช้ในการรักษาบรรเทาอาการต่าง ๆ ไม่ว่าจะทำเป็นยา อาหารเสริม และเครื่องสำอางแล้ว ส่วนต่าง ๆ ยังนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกมากมายด้วยเช่นกัน ดังนี้

เปลือกต้นกัญชง

เปลือกจากต้นกัญชงเป็นเส้นใยที่ให้คุณภาพสูง จึงมักนำไปใช้ทำเป็นเส้นด้าย และเชือกต่าง ๆ ยังใช้สำหรับการทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ  อย่างในพิธีกรรมต่าง ๆ ก็มักจะใช้ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยจากกัญชงในพิธี เช่น การใช้ทำสายสิญจน์ในพิธีกรรมพอัวเน้งหรือการเข้าทรง ซึ่งเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวม้ง ใช้เป็นรองเท้าของคนตายเพื่อเดินทางไปสู่สวรรค์ อย่างในประเทศญี่ปุ่นก็นำเส้นใยกัญชงซึ่งถือว่ามีความเป็นมงคล จึงนิยมนำมาตัดกิโมโน เพราะเป็นผ้าที่มีความทนทานนับร้อยปีเลยทีเดียว

ส่วนของต้นกัญชง

ในอดีตประเทศญี่ปุ่น ในจังหวัดฟูกูชิมะ มีการปลูกต้นกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านกำจัดกัมมันตภาพรังสีให้สลายตัวจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ระเบิดจากคลื่นสึนามิ จนสารพิษซึมลงดินจนไม่สามารถทำการเกษตรได้ ส่วนเนื้อของลำต้นเมื่อปอกเปลือกออกแล้วยังนำมาผลิตเป็นกระดาษ เสื้อเกราะกันกระสุนคุณภาพสูงที่มีน้ำหนักเบา วัสดุหีบห่อ ฉนวนกันความร้อน ไบโอพลาสติก

แกนกลางของต้นกัญชงยังมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น น้ำหรือน้ำมันได้ดี หลาย ๆ ประเทศจึงนิยมนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ่านไม้ แอลกอฮอล์ เอทานอล และเมทานอล เป็นต้น นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการการสร้าง ไม่ว่าจะเป็น อิฐ หรือใช้ผสมคอนกรีตสำหรับงานก่อสร้าง รวมไปถึงผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งอาคารและเฟอร์นิเจอร์ และส่วนประกอบรถยนต์อีกด้วย

เมล็ดจากต้นกัญชง

เมล็ดกัญชงนอกจากจำนำไปสกัดเอาน้ำมันมาใช้ในการปรุงอาหารเพื่อสุขภาพ และเครื่องสำอางได้แล้ว ยังนำไปเป็นอาหารนก หรือแม้กระทั่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงก็ยังได้

ใบกัญชง

ส่วนใบของกัญชงนอกจากจะใช้เป็นยารักษาโรค กับเครื่องสำอางแล้ว ยังสามารถนำมาผลิตเป็นชาเพื่อสุขภาพ ยังสามารถบดผงผสมกับอาหารอื่น ๆ เพื่อผลิตเป็นอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ หรือนำไปผลิตเป็นอาหารโดยตรง อาทิ เส้นพาสต้า คุกกี้ ขนมปัง ใช้หมักทำเบียร์ ไวน์ ทำน้ำจิ้มซอสสำหรับอาหารต่าง ๆ รวมไปถึงการนำไปสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางก็เป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก

รากกัญชง

ส่วนของรากกัญชงนอกจากมีสาร CBD ที่สูง ยังอุดมไปด้วย สารอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น สารฟริเดลีน, สารเพนต้าไซคลิก ไตรเทอร์พีน, และสารโคลีน เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วมีคุณสมบัติทางยาทั้งสิ้น โดยส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้ แก้อาการปวด ลดไข้ ใช้รักษาประจำเดือนมาไม่ปกติ ตกขาว หรืออาการตกเลือด อาการเลือดออกจากช่องคลอดกะปริดกระปรอย รักษาอาการปวดข้อต่อต่าง ๆ และรักษาโรคเกาต์ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ใช้เพื่อปรับความสมดุลของร่างกายให้เป็นปกติได้ดียิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า สรรพคุณของ กัญชง นั้นมีมากมายหลายอย่าง อีกทั้งยังใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่รากไปถึงใบ ซึ่งแนวโน้มในอนาคตเชื่อว่าคงสามารถใช้ประโยชน์ได้มากกว่านี้ เพราะในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยปรับปรุงพันธุ์ให้กัญชงที่มีปริมาณ CBD สูง และสาร THC ให้ต่ำกว่า 1.0% ซึ่งในปัจจุบัน พบสายพันธุ์ที่มีปริมาณ CBD เพิ่มสูงขึ้นในช่วง 5-15 % ได้แล้ว โดยมีเป้าหมายให้ได้พันธุ์ที่มีปริมาณ CBD 20% ภายในปี พ.ศ. 2570 หากใครคิดจะปลูกก็ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยในอนาคตพืชกัญชงของไทยอาจกลายเป็นสายพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลดีต่อเกษตรกรที่สามารถสร้างรายได้มากขึ้น และสร้างผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีคุณภาพสูงตามไปด้วย

Previous articleวิธีปลูกกัญชาในร่ม (Indoor) ขั้นตอนสำคัญ สำหรับผู้เริ่มต้น
Next articleสรรพคุณของ กัญชา ที่หลายคนอาจยังไม่รู้