กัญชง พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ทำไมถึงสารมารถสร้างรายได้อย่างมากมายในอนาคต

แนวโน้มในอนาคตอันใกล้ กัญชง พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ถือเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะทั้งในตลาดไทย และตลาดโลกโตอย่างต่อเนื่อง แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกัญชงกันก่อน

กัญชง พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ คืออะไร

กัญชง หรือเฮมพ์ ถือเป็นพืชในตระกูลเดียวกับกัญชา โดยเป็นพืชที่มักจะขึ้นในทวีปเอเชีย กัญชง สามารถเจริญเติบโตได้ง่ายไม่ว่าสภาพอุณหภูมิจะเป็นแบบไหน หากปลูกเองก็ไม่ต้องรดน้ำ หรือใส่ปุ๋ยมากมาย โดยส่วนใหญ่ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 2 เมตร ใบออกอมเหลือง หรือเขียวอ่อน ไม่เข้มเหมือนใบกัญชา แตกกิ่งน้อย ข้อเป็นปล้อง การออกดอกจะเป็นช่อที่ปลายยอด และตามซอกใบ ที่สำคัญไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทเหมือนกัญชา

สรรพคุณโดยทั่วไปของกัญชง

ในกัญชงนั้นเต็มไปด้วยสาร CBD ที่มีสรรพคุณเหมือนยาปฏิชีวนะที่ช่วยแก้อาการอักเสบ ลดความเจ็บปวด ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด ยังช่วยให้ความเคลิบเคลิ้ม ผ่อนคลาย นอนหลับพักผ่อนได้ดีขึ้นช่วยคลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเกาต์ หรือเจ็บปวดข้อกระดูก ในอดีตใช้รักษาโรคบิด โรคท้องร่วง เป็นต้น ถึงจะมีสาร THC ที่ออกฤทธิต่อจิตประสาทอยู่บ้างแต่ก็มีน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ (ซึ่งในกัญชามีสารชนิดนี้เยอะมาก)

กัญชง พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ส่วนต่าง ๆ ของต้นมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

น้ำมันจากเมล็ด – สามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์ได้มากมายตั้งแต่ เครื่องสำอาง สกินแคร์ ไม่ว่าจะเป็น โลชั่นบำรุงผิว, ลิปบาล์ม, ลิปสติก, สบู่, แชมพู, แผ่นมาสก์หน้า หรือครีมกันแดด รวมไปถึงน้ำยาซักแห้ง น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น นอกจากนี้ครีมน้ำมันกัญชงยังสามารถรักษาโรคสะเก็ดเงิน โรคผิวหนังแห้งแตก ลดอาการคัน ได้เป็นอย่างดี

เมล็ดกัญชง – หากไม่ถูกนำไปสกัดเป็นน้ำมันส่วนของเมล็ด ยังสามารถนำไปเป็นของทานเล่นได้แถมยังมีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะมี โอเมก้า 3  โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 รวมไปถึงวิตามินต่างที่ดีต่อหลอดเลือด และหัวใจ ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งอีกด้วย

โปรตีนในเมล็ดกัญชง –หากนำไปแปรรูปก็สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น น้ำมันสลัด, เต้าหู้ โปรตีนเกษตร, นม, ไอศกรีม, เนย, ชีส เป็นต้น หรือจะนำไปผลิตเป็นแป้งก็ได้

เปลือกจากลำต้นกัญชง – เนื่องจากเปลือกจากลำต้นมีความเหนียวจึงสามารถนำไปผลิตเป็นเครื่องนุ่งห่ม ชุดที่นอน ผ้าต่าง ๆ

ส่วนเนื้อ และแกนของลำต้น – ในส่วนนี้มักจะนิยมนำไปทำกระดาษ และด้วยคุณสมบัติสามารถดูดซับกลิ่น น้ำมัน หรือน้ำได้ดี ในต่างประเทศจึงนิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน รวมไปถึงถ่านไม้ แอลกอฮอล์ เอทานอล เมทานอล ฯลฯ

ใบ และเส้นใย – สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เยอะมาก ไม่จะเป็นยารักษาโรค, ทำเป็นใบชาชงดื่ม, ทำเบียร์,ไวน์, เส้นพาสต้า, ขนมปัง, คุกกี้, ซอสปรุงรส อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เครื่องสำอาง และตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่นส่วนเส้นใยจะมีความเป็นมงคลจึงนำไปถักตัดกิโมโน ซึ่งสามารถใช้ได้นานนับ 100 ปี

แนวโน้ม กัญชง พืชเศรษฐกิจตัวใหม่

หลังจากภาครัฐได้ประกาศให้มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องกัญชา กัญชง ทั้งในโดยภาครัฐ และภาคเอกชน ก็เริ่มได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งหากอ้างอิงจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่เปิดเผยออกมาว่า มูลค่าตลาดกัญชงในไทยสำหรับปี 2565 จะอยู่ที่ประมาณ 7,200 ล้านบาท ส่วนในอีก 3 ปีข้างหน้า หรือปี 2568 มูลค่าทั้งอาเซียนประมาณ 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งข้อมูลจาก www.theshelbyreport.com ที่คาดมูลค่าตลาดกัญชงทั่วโลกในอีก 5 ปี หรือราวปี 2570 ก็จะมีมูลค่าสูงถึง 1.86 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อถึงตอนนั้นประเทศไทยจะกลายเป็นศูนย์กลางการส่งออกอย่างแน่นอน

ปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้ กัญชง เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่น่าลงทุน

นักวิชาการ และนักธุรกิจที่สนใจในอุตสาหกรรมกัญชงหลายคนมองว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกัญชงถึง 5 ปัจจัยที่มองว่าการปลูกในประเทศไทยมีความได้เปรียบกว่าการปลูกในต่างประเทศ โดยปัจจัยทั้งหมดมีดังต่อไปนี้

มีสภาพภูมิประเทศ และอากาศที่เหมาะสม

กัญชงสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศประมาณ 13-22 องศา ดังนั้นหากปลูกในตอนบนของภาคเหนือที่มีอุณหภูมิทั้งปีประมาณ 18-33 องศา จึงมีความเหมาะสม และให้ผลผลิตได้สูง

กัญชงเป็นพืชที่เหมาะกับอากาศค่อนข้างเย็น 13-22 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ปลูกได้ดีและให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่สูงในพื้นที่เหนือเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของไทยที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 18-33 องศาเซลเซียส จึงมีความเหมาะสมอย่างมากในการปลูกกัญชง

หากเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ต้นทุนไม่สูง

เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศ และอากาศที่เอื้ออำนวยจึงสามารถปลูกกลางแจ้งได้ตลอดทั้งปี ส่วนในต่างประเทศนั้นบางที่ก็มีอุณหภูมิสูงเกินไป หรือหนาวเย็นจนถูกหิมะปกคลุมส่วนใหญ่จึงมักจะปลูกกันในโรงเรือนเพื่อรักษาอุณหภูมิ หากจะปลุกตามธรรมชาติก็สามารถปลุกได้ปีละไม่กี่เดือนเท่านั้น จึงทำให้มีต้นทุนที่สูง กว่าการปลูกในประเทศไทย

มีบุคลากรที่ค่อนข้างจะพร้อม

ในประเทศไทยมีการปลุกกัญชงมาอย่างยาวนาน เกษตรกรมีความเชียวชาญในการเพาะปลูกจึงไม่ใช่เรื่องยากหากจะปลูกกัญชงซึ่งเหมือนกับการปลูกผักพื้นบ้านทั่วไป อีกทั้งยังมีการวิจัยค้นคว้าพัฒนาสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้คือข้อได้เปรียบอีกอย่างที่ประเทศไทยมี

แนวโน้มความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่ผ่านมาผลิตภัณฑ์จากกัญชงในตลาดโลกมีราคาสูงขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่อง เช่นสารสกัด CBD ราคาลิตรละ 100,000–120,000 บาท และหากแปรสภาพราคาลิตรละ 180,000 บาท หรือหากเป็นน้ำมันจากเมล็ดกัญชงจะมีราคา ลิตรละ 500-1,200 บาท เลยทีเดียว ส่วนแนวโน้มในอนาคตคาดว่าจะโตเฉลี่ยปีละ 15.8% (ในช่วงปี 2020-27) และในปี 2027 คาดว่าจะทะลุ 15.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

ให้ผลตอบแทนมากกว่าการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ

พืชผลทางการเกษตรในประเทศไทยส่วนใหญ่ มักจะมีราคาที่ไม่นิ่งผันผวนไปตามฤดูกาลที่มักจะเกิดขึ้นจากจำนวนผลผลิต กัญชง พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ จึงถือเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรที่จะมีรายได้ที่ดีกว่าเดิมยกตัวอย่างเช่นการปลูกกัญชง กับพืชอื่น ๆ ในเนื้อที่ที่เท่ากัน กัญชงจะสร้างรายได้ผลตอบแทนได้มากกว่า 6 เท่า และอาจจะสูงกว่าการปลุกข้าวโพดมากถึง 40 เท่า (เป็นข้อมูลเฉลี่ย 3 ปี พ.ศ.2561-63) และหากเปรียบเทียบกับการปลูกแคนตาลูปแบบน้ำหยดในโรงเรือน กัญชงจะให้ผลตอบแทนประมาณ 3 เท่า

ห่วงโซ่อุตสาหกรรม กัญชง พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่กำลังจะเกิดขึ้น

ถึงแม้ตอนนี้ตลาดกัญชงในประเทศไทยยังมีขนาดเล็กเพราะเพิ่งจะถูกปลดล็อก แต่การประกอบธุรกิจกัญชงได้สร้างห่วงโซ่ใหม่ขึ้นมา ซึ่งถือเป็นห่วงโซ่สำคัญในการสร้างรายได้ในอนาคตระยะยาว โดยห่วงอุตสาหกรรมกัญชง มีดังนี้

ห่วงโซ่ต้นน้ำ

ได้แก่การหาสายพันธุ์ การจัดหาเมล็ดที่มีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาขึ้นมาเองเพื่อให้ได้ค่า CBD หรือ THC ตรงตามความต้องการของตลาด หรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายเพื่อใช้ในการเพาะปลูก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มเกษตรกร แปลงทดลองของมหาวิทยาลัย หรือสถาบันต่าง ๆ รวมไปถึง วิสาหกิจชุมชน หรืออาจจะเป็นผู้ประกอบการที่มาจากห่วงโซ่กลางน้ำ หรือปลายน้ำที่ต้องการพัฒนาสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของตัวเอง

ห่วงโซ่กลางน้ำ

ห่วงโซ่กลางน้ำในอุตสาหกรรมกัญชง ได้แก่โรงงาน ผู้ประกอบการทางด้านผลิตต่าง ๆ ที่นำกัญชงไปแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการตลาด เช่นการสกัด CBD หรือ THC ที่มีอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้จำนวนมาก ยังมีการสกัดน้ำมัน การผลิตใยกัญชง เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการห่วงโซ่กลางน้ำอาจจะเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยา อาหารเสริม อาหาร เครื่องดื่ม ที่มีเครื่องไม้เครื่อง และเทคโนโลยีในการสกัดที่พร้อมสรรพ

ห่วงโซ่ปลายน้ำ

ได้แก่กลุ่มที่นำกัญชงที่แปรสภาพจากห่วงโซ่กลางน้ำมาต่อยอดเพื่อการผลิตสินค้า พัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา โดยสามารถแบ่งเป็น 5 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. เครื่องดื่ม – เช่นเครื่องดื่มชูกำลัง, กาแฟ, ชาสมุนไพร, น้ำอัดลม, เครื่องดื่มให้พลังงาน, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ
  2. อาหาร – ได้แก่เครื่องปรุงต่าง ๆ ธัญพืช อาหารประเภทเส้น เบเกอรี่ ขนมกินเล่น เป็นต้น
  3. ยา – ได้แก่ยารักษาโรคต่าง ๆ อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพทางกีฬา เป็นต้น
  4. เครื่องนุ่งห่ม – ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องนอน ผ้าปู ผ้าม่าน ต่าง ๆ
  5. เครื่องสำอาง – ได้แก่ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว สบู่ แชมพู ยาสีฟัน น้ำหอม ลิปสติก น้ำยาระงับกลิ่นกาย ฯลฯ

เมื่อมาถึงตรงนี้คงพอจะทราบกันแล้วว่า กัญชง พืชเศรษฐกิจตัวใหม่ เป็นทางเลือกที่น่าจับตามองเพื่อสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ และเป็นแหล่งสร้างงานสร้างเงิน สร้างงานให้กับเกษตรกร และผู้ประกอบการ ทั้งรายเล็ก และรายใหญ่ และทำให้เชื่อว่าอีกไม่นานจะมีผลิตภัณฑ์จากกัญชงออกมาจำหน่ายอย่างมากมายแน่นอน